วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการเสนอโอกาส/สปอนเซอร์ภาคสนาม


การเข้าพบเพื่อการสปอนเซอร์ที่ดี

          1. ควรนัดหมายก่อน เพื่อจัดสรรเวลา และเคารพเวลาคู่สนทนา
          2. ไปตรงตามเวลา หรือก่อนเวลานัดหมายเล็กน้อย
          3. สำรวมกิริยาท่าทางต่างๆ เช่นการดื่มน้ำ ไม่ดื่มแบบหิวกระหายจนหมดแก้ว
          4. ในในฐานะผู้แก้ไขปัญหาให้ความช่วยเหลือ หรือสร้างโอกาสไม่ใช่ไปหาเรื่องติ หรือ ตำหนิในวิถีชีวิตหรือความเป็นอยู่ของเขาพูดง่ายๆ ไปคุยเพื่อสร้างมิตร และสร้างพวก ไม่ได้ไปชวนทะเลาะเบาะแว้ง
          5. เริ่มต้นพูดคุยในสิ่งที่เขาชอบ เขาเชื่อ หรือเขาสบายใจ

หัวข้อการสนทนา หรือสัมภาษณ์ที่ดี
          หัวข้อการสนทนาที่ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี และมีโอกาสขยายองค์กรและขยายทีมงานอีก ขอแนะนำดังนี้

          1. เรื่องวงศาคณาญาติ หรือเรื่องเบื้องหลังของครอบครัว
          2. เรื่องความสำเร็จในทางอาชีพ/ธุรกิจ หรือผลงานที่ผ่านมา
          3. เรื่อง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข งานบันเทิง งานอดิเรกต่าง ๆ
          4. เรื่องข่าวสารต่างๆ เรื่องเงิน ๆ ทอง
          5. เรื่องสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ

เรื่อง หรือหัวข้อการสนทนาที่ควรหลีกเลี่ยง
          เพราะอาจจะเกิดความขัดแย้งทางความคิด หรือเป็นปมด้อยในการเจรจาระหว่างคู่สนทนาคือ

          1. เรื่องการเมือง: โดยเฉพาะถ้าหากคู่สนทนาชอบ หรือสนใจพรรคการเมืองคนละพรรคกับเรา จะชวนเขามาร่วมทีมก็คงไม่ง่ายนัก
          2. เรื่องศาสนา: ถ้าคู่สนทนาเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา หรือลัทธิที่เราไม่ชอบ ไม่สนใจ หรือไม่เชื่อถือ ถ้าคุยกันต่อไปก็จะอยู่กันคนละขั่วเปล่าๆ
          3. เรื่องลับเฉพาะส่วนตัวที่ไม่อยากจะเปิดเผยของครอบครัว :คู่สนทนาเพราะอาจเกิดปัญหาตามมาภายหลัง

หลัก 3 ขั้นในการสปอนเซอร์

          1. สร้างปัญหา คือ ต้องสร้างปัญหาที่ไม่ให้เกิดแรงกดดันต่อตัวคู่สนทนาหลังจากสัมภาษณ์พูดคุย กันแล้ว โดยส่วนมากมักจะระบุถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหารายได้ไม่สมดุลกับรายจ่ายพร้อมทั้งใช้คำถามที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ “ถ้ามีงาน ๆหนึ่งทำให้โอกาสมีรายได้เพิ่ม โดยเพิ่มเวลาทำงานน้อยกว่างานประจำเดิม ๆ สนใจไหม ?”
          2. ตรวจสอบทัศนคติ คำถามที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ “มีความเห็นอย่างไรกับอาชีพการขาย” หลังจากนั้นให้ปรับทัศนคติให้เป็นกลางๆ หรือบวก แล้วจึงดำเนินการในขั้นที่ 3

          3. ขายธุรกิจ/ขายอาชีพ คำถามสำคัญในวันนี้คือ “เคยมีใครชวนหารายได้พิเศษบ้างหรือยัง หลังจากนั้นก็แก้ไขปัญหา หรือนัดแนะในกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป

การเชื้อเชิญเข้าร่วมประชุม หรือร่วมกิจกรรม

       ไม่ควรพูดว่า                               ควรพูดว่า

1. สนใจไหม                        1.น่าสนใจอยากจะให้เธอ/คุณไป

2.ว่างไหม มีเวลาไหม            2.วันพุธ หรือศุกร์ 6 โมงเย็น

3.ลองไปดูไหม                    3.ตั้งใจอยากให้ไปดู/ฟัง

4.ตัดสินใจ หรือยังว่าจะไป      4.ไปด้วยกัน จะไปคอย/รอ

บันได 5 ขั้นในการสร้างสายงานตามทฤษฎีมวลชนสัมพันธ์

1.ปรับทุกข์
          การปรับทุกข์เป็นวิธีการเริ่มต้นที่สร้างแนวร่วม โดยการสัมภาษณ์ สนทนาโดยกำหนดปัญหาจากคู่สนทนาเช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาทางรายได้ไม่พอกับรายจ่ายความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ

2.ผูกมิตร
          การผูกมิตรเป็นการสนทนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความเชื่อมั่น หรือให้เกิดความไว้วางใจโดยพูดคุยในเรื่องของเรา และของเขา ในขั้นนี้ผู้นำหรือผู้สปอนเซอร์สามารถแสวงหาโอกาสในการทำให้เกิดการตัดสินใจ สมัครร่วมธุรกิจได้

3.ปักหลัก
          ทำให้เขาได้เรียนรู้วิธีการทำงาน รูปแบบ หรือระบบการทำงาน สร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ถูกต้องได้มีการติดต่อ ติดตาม สนับสนุนให้ดาวน์ไลน์ทำงานขายตรงอย่างมีจุดยืน ช่วยให้สมาชิกใหม่ขายเป็น และสปอนเซอร์เป็นให้เร็วที่สุด

4.จัดตั้ง
          มอบหมายให้มีบทบาทในสายงานเช่น การเป็นพิธีกร การเป็นผู้ช่วยจัดงานประชุม การเป็นวิทยากร ให้เป็นแกนนำในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ฝึกฝนให้เป็นผู้นำกลุ่ม

5.ชี้นำ
          เมื่อเริ่มมีความรู้ ความสามารถในการเสนอแนะ เสนอขาย ขายโอกาสได้ก็เริ่มชี้นำให้เขาทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองเป็นวงจรของความสำเร็จ โดยการสร้างผู้นำขึ้นมาทดแทนโดยการสร้างและขยายเครือข่ายออกไป

          อย่าลืมว่าการสปอนเซอร์พูดคุยกับคนทุกคน จะทำให้ทุกคนเขาตอบตกลง และตัดสินใจสมัครในทันที เชื่อขนมกินได้เลยว่า คงไม่มีในเวทีการขายตรงเป็นแน่แท้ เพื่อนนักขายตรงต้องเข้าใจถึงสัจธรรมของการทำธุรกิจนี้ต้องอาศัยหลักสถิติ หรือหลักอัตราส่วนที่ว่าพบมาก โอกาสผิดหวังมีมาก แต่โอกาสสมหวังก็มีมากเช่นเดียวกัน ความพยามยามในเบื้องต้นคือความสำเร็จในบั้นปลาย เพราะฉะนั้นออกพบปะกับผู้คาดหวังเถิดหนา ดีกว่าจะมานั่งฝันหวานอยู่แต่บนเก้าอี้ จะดักลอบต้องหมั่นกู้ จะเป็นนักสปอนเซอร์ชั้นครูต้องหมั่นพบปะจริงไหม?


ที่มา นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 6 ฉบับที่ 126 ปักษ์แรก ประจำวันที่ 16-29 กุมภาพันธ์ 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น